ข่าวสารบัีนเทิง

การเล่นดนตรีใ้ห้เก่ง

ข้อดี 6 ประการของการเล่นดนตรี

1.ตั้งเป้าหมาย
การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการเล่นระดับสูงได้เร็วกว่าการเล่นโดยไร้จุดหมาย ก่อนอื่นคุณต้องตั้งเป้าหมายที่ต้องการเสียก่อน หลังจากนั้นจึงวางแผนการฝึกเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น เราต้องตัดสินใจว่าจะฝึกหนักแค่ไหนและระดับไหนที่ถือว่าเป็นไปไม่ได้ เช่น การฝึกหนักวันละ 12 ชั่งโมง ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

2. การฝึกอย่างถูกต้อง
ถ้าเราไม่สามารถฝึกไวโอลินวันละ 12 ชัวโมงได้จริงเราควรจะทำอย่างไรดี? เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องการฝึกอย่างถูกต้อง โดยใช้เวลาเพียงวันละ 30 นาทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อคุณมีเป้าหมายในใจเรียบร้อยแล้วพร้อมๆ กับแผนงานที่เตรียมไว้ ขั้นต่อไปเป็นการก้าวไปทีละขั้นเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่คุณวางไว้ การฝึกอย่างถูกต้อง เพียงวันละ 30 นาทีจะได้ประโยชน์มากกว่าการฝึกวันละ 2 ชั่วโมงโดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจน และเมื่อคุณฝึกอย่างถูกต้องตามวิธี จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณติดนิสัยการเล่นที่ไม่ดีทั้งหลายซึ่งเกิดจากการฝึกฝนที่ไร้ระเบียบ

3. สมาธิและความตั้งใจ
การเรียนไวโอลินนั้นคือการฝึกฝนที่ต้องอาศัยทั้งความตั้งใจและสมาธิเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ เพราะคุณต้องคอยแก้ปัญหาแล้วปัญหาเล่าที่เกิดขึ้นไม่จบสิ้น การเล่นที่ถูกต้องของมือทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กับเตรียมตัวเล่นในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทักษที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความมีสติเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อันประเมิณค่ามิได้เลย ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆ ในชีวิตได้เป็นอย่างดี

4. การทำงานเป็นทีม
ในหลายๆ อาชีพต้องการการทำงานที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สำหรับการเล่นดนตรีนั้น เมื่อเราเข้าเล่นในวงดนตรี เช่น ในวงออร์เคสตร้าหรือวงแชมเบอร์ เรามีโอกาสที่จะพัฒนาทักษะการเข้าสังคมควบคู่กันไปด้วย แต่ถ้าคุณยังเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา คุณมีโอกาสดีที่จะเข้าค่ายดนตรีหรือเข้าร่วมประชุมเชิงการปฏิบัติการในสาขาดนตรี นับเป็นโอกาสอันดีที่ไม่อาจประเมิณค่าได้เลย คุณควรจะหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

5. การเเสดงออกทางอารมณ์
ดนตรีคือเครื่องมือที่ใช้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ถือเป็นรากฐานของทุกๆ วัฒนธรรมและศาสนาในโลกมาตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ดนตรีคือวิธีการที่ทรงพลังซึ่งเราสามารถใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ และเป็นวิถีทางในการแสดงออกถึงพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

6. เรียนรู้การเเก้ปัญหา
ว่ากันว่าไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนยากและเล่นยากที่สุดชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าปริมาณสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวมีมากพอๆ กับสมองที่ควบคุมระบบประสาทการทำงานของร่างกาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการไวโอลินคือหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ เราจะได้ประโยชน์จากประสบการณ์ทุกๆ สิ่งที่เราตั้งใจจะทำ


เคล็ดลับ 4 ประการการฝึกดนตรีให้ได้ผล

การฝึกซ้อมทำให้เล่นได้อย่างสมบูณณ์แบบ
นักดนตรีที่ดีทุกคนรู้ว่าการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น แต่คุณรู้ไหมว่าการฝึกแบบไม่เอาจริงนั้นจะทำให้ฝีมือคุณแย่ลง ก่อนที่คุณจะบอกทางบ้านหรือบอกคุณครูสอนดนตรีว่าคุณตัดสินใจจะไม่ฝึกซ้อมแล้ว ขอให้คิดถึงคำว่า ใคร? อะไร? เมื่อไหร่? ที่ไหน? และ อย่างไร? ของการฝึกซ้อมที่จะช่วยทำให้คุณเล่นดีขึ้นและมีความสุขกับดนตรีมากกว่าที่เป็นอยู่

ใคร? (WHO)
"ตัวคุณเอง" นั่นเเหละ การฝึกซ้อมที่ดีขึ้นอยู่กับจิตใจ ร่างกาย อารมณ์ของคุณ และดนตรี ผู้ปกครองหรือครูของคุณอาจจะบังคับให้คุณใช้เวลากับการเล่นโน้ตเพลง แต่ "ตัวคุณเอง" เท่านั้นที่สามารถสร้างสมาธิและใส่อารมณ์ไปกับเสียงดนตรีที่คุณสร้างขึ้น จะทำให้เสียงดนตรีที่คุณบรรเลงมีความไพเราะและน่าประทับใจ

อะไร? (WHAT)
การฝึกซ้อมที่จะทำให้การเล่นพัฒนาจนสมบูรณ์แบบประกอบด้วย
-การวอร์มอัพ
-ทบทวนสเกลต่างๆ, แบบฝึกหัด Etude หรือเพลงต่างๆ ที่คุณได้เรียนมาแล้ว
-เพลงใหม่ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
-เพลงที่คุณอยากจะเล่นให้ได้อย่างจริงจังหรือเล่นเพื่อความสนุก (หรือบางทีอาจจะเป็นเพลงที่คุณแต่งขึ้นเองก็ได้)

เมื่อไหร่? (WHEN)
ดร.Shinishi Suzuki กล่าวถึงการซ้อมดนตรีไว้ว่า "ซ้อมเฉพาะวันที่คุณทานข้าวเท่านั้น" การวางแผนการซ้อมที่ดีที่สุดคือการทำให้มันกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าคุณรู้ว่าคุณต้องฝึกซ้อมในแต่ละวันให้เป็นเวลา มันจะดำเนินไปโดยมีข้อยกเว้นไม่มากนัก

อย่างไร? (HOW)
หัวข้อนี้ถือเป็นคำถามที่สำคัญมาก นักเรียนหลายๆ คนเล่นโดยเล่นตะลุยดะไปทั้งเพลงหรือตามที่ได้รับมอบหมาย (ส่วนใหญ่ต้องการจะเล่นให้เป็นเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) ราวกับว่ากำลังเล่นในคอนเสิร์ทรีไซทัล คือเล่นต่อไปเลยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เงินไม่สามารถซื้อความสำเร็จที่ทำให้คุณเล่นดีขึ้นได้ แต่การใช้เวลาการฝึกซ้อมที่ดีสามารถทำได้ ข้อความข้างล่างนี้คือเคล็ดลับที่ทำให้การฝึกซ้อมของคุณมีค่ากลายเป็น 'เงิน" ขึ้นมา
-ตั้งเป้าหมายในการฝึกแต่ละแบบฝึกหัดให้สำเร็จ
-คุณควรจะมั่นใจว่าแต่ละท่อนแต่ละววรคควรจะเล่นให้มีเสียงอย่างไร
ฝึกซ้อมท่อนที่ท้าทายที่สุดก่อนเป็นลำดับแรก
พยายามแยกย่อยเพลงออกเป็นส่วนเล็กๆ (คุณกินวัวทั้งตัวแบบไหน? คงไม่กินทีเดียวทั้งตัวแน่ๆ)
-ทบทวนแต่ละท่อนหลายๆ ครั้งหลังจากที่คุณเล่นได้แล้ว
-ก่อนจบการฝึกซ้อมในแต่ละส่วน ให้เล่นทั้งเพลงอีกครั้ง และมีความสุขไปกับมัน


Music Practice : ศิลปะแห่งการซ้อมดนตรีที่ดี กับกฏ 10 ข้อ

1. Always Know Exactly What You Need to Practice - and WHY
(ต้องรู้ตัวเสมอว่าเรากำลังจะซ้อมเพื่อแก้ไขในสิ่งใดและรู้ว่าทำไมต้องแก้)

ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการซ้อมมาหลายชั่วโมงแต่ไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นเลย ดังนั้น เราต้องหาปัญหาในการเล่น
ให้เจอ และแยกแยะเหตุผลของความยากนั้นๆ และเริ่มแก้ทีละอย่าง การซ้อมที่ดีนั้น เราจะต้องเข้าใจ
เรื่องพื้นฐานของเครื่องดนตรีที่เราเล่นอยู่โดยหาหนทางหลายๆ ทางมาดัดแปลงให้เข้ากับสรีระร่างกายของ
เราซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ให้คิดก่อนลงมือซ้อมว่าเราจะทำอะไรในการซ้อม เพื่อแก้ปัญหาอะไร ทำ
ให้เป็นนิสัยตั้งแต่บัดนี้ คิดก่อนซ้อมสัก 3 นาที ดีกว่าซ้อมไป 3 ชั่วโมงโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย สักแต่ว่า
เล่นตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะเสียเวลามาก และจะทำให้เราเคยชินกับการเล่นที่ยังผิดๆ อยู่ และเมื่อเราเคยชิน
เสียแล้ว....แก้ยากนะครับ

2. Organize Practice Time to Suit Circumstances
(วางแผนเวลาการซ้อมให้เหมาะกับสถานการณ์)

วางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับจำนวนเวลาที่เราจะซ้อมในแต่ละเรื่อง อันนี้ขึ้นอยู่กับเวลาที่เรามีอยู่ให้ในการ
ซ้อม ควรวางแผนเป็นวัน เป็นอาทิตย์หรือวางในระยะยาว
การซ้อมแบ่งได้เป็น 5 ข้อใหญ่ๆ
1. เรียนเพลงหรือเทคนิคใหม่ๆ ที่เรายังทำไม่ได้หรือได้ไม่ดี
2. เปลี่ยนหรือแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคที่เฉพาะเจาะจง เช่น Vibrato, Staccato เป็นต้น
3. ซ้อมเพลงที่เรามีเป็น repertoire หรือซ้อมเทคนิคต่างๆ ที่เราทำได้ดีแล้ว
4. ซ้อมเพื่อเตรียมแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขัน หรือ audition
5. ซ้อมเพื่อทบทวนเพลงเก่าๆ โดยหาการตีความบทเพลงในแนวที่แตกต่างออกไป
การซ้อมในแต่ละครั้งอาจจะซ้อมผสมกันในแต่ละครั้ง แต่ควรเน้นการซ้อมในข้อหนึ่งข้อใดเป็นหลัก เรื่อง
การวางแผนเวลาซ้อมนั้น เราต้องดูว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์แบบใด
1. ยังเป็นนักเรียนในโรงเรียน วิชาเรียนเยอะมาก
2. เป็นนักเรียนในโรงเรียน แต่ยังต้องทำงานพิเศษหรือเรียนพิเศษ
3. เป็นมือสมัครเล่นซึ่งมีเวลาซ้อมน้อย
4. เป็นมืออาชีพแต่มีธุระยุ่ง
5. เป็นคนที่มีเวลาว่างมาก (ปิดเทอมหรือโชคดีที่ว่าง)
ไม่ว่าจะกรณีใด เราควรจะซ้อมมากน้อยเพียงใด? โดยรวมแล้ว เราแค่เพียงต้องการที่จะเรียนเพลงให้ดี
ที่สุดที่เราสามารถจะ make music โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาทางเทคนิคการเล่น ถ้าเราทำได้ถึงจุด
นี้ เราก็สามารถจะแก้ปัญหาด้านการตื่นเวทีไปได้เยอะแล้ว โปรดจำไว้ว่า ซ้อมอย่างมีสมาธิเพียง 2
ชั่วโมง ดีกว่าซ้อม 7-8 ชั่วโมงอย่างเลื่อนลอย
เราต้องรู้ตัวเราเองว่าระยะเวลานานเท่าไรที่เราสามารถซ้อมได้อย่างมีสมาธิ เราต้องทราบจุดเด่นและจุด
ด้อยในการเล่นของเรา และที่สำคัญเราต้องเรียนรู้ที่จะฟังการเล่นของเราและต้องไม่ปล่อยสิ่งที่ผิด พลาด
ออกไปโดยไม่มีการแก้ไข นั่นคือ เราต้องเป็นครูคอยสอนสั่งเคี่ยวเข็ญตัวเองเสมอ
คนบางคนสามารถเรียน รู้และจดจำได้เร็วกว่าอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เรียนรู้ได้เร็วนั้นจะ
สามารถได้ประโยชน์จากการ ซ้อมดีกว่าคนที่เรียนรู้ช้า และไม่แน่นะ....คนที่ค่อยๆ ซ้อมไปช้าๆ อาจจะ
เข้าใจได้ดีกว่าและสามารถแก้ไขเทคนิคการเล่นให้ดีขึ้นและมั่นคงอยู่กับตัวได้นานกว่าก็เป็นได้

3. Repetition is the Mother of Knowledge Only if the Perfected
Passage is Repeated More Often than the Faulty One
(การซ้อมแบบซํ้าๆ ที่เก่าหลายๆ ครั้ง จะได้ผลก็ต่อเมื่อ เราซ้อมช่วงนั้นแบบดี perfect ให้บ่อยกว่า
ที่ผิดพลาด)

ถ้าเราเล่นช่วงที่ยากของเพลงอย่างถูกเป็นครั้งแรกหลังจากผิดพลาดมานับสิบครั้ง อย่าเพิ่งหลงดีใจว่าเรา
แก้ไขปัญหาการเล่นได้แล้ว! จริงๆ แล้ว เราเพิ่งจะสอนร่างกายของเราให้เคยชินกับการเล่นที่ผิดพลาดมา
นับเป็นสิบๆ ครั้งและเพิ่งจะพลาดมาเล่นถูกเพียงครั้งเดียวหรือสองสามครั้งเท่านั้น และแนวโน้มที่เราจะเล่น
อันที่เคยผิดพลาดในการแสดงนั้นจะมีมากกว่าอันที่ถูก เพราะร่างกายของเราเกิดความเคยชินกับแบบที่ผิดๆ
ไปเสียแล้ว ฉะนั้น เมื่อเราเริ่มหัดเพลงใหม่ๆ ให้แน่ใจว่าเราเล่นอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก และซ้อมเช่นนั้น
อย่างระมัดระวัง ควรซ้อมอย่างช้าๆ ก่อนเพื่อให้เราฟังและทราบว่าสิ่งที่เราเล่นนั้นถูกต้อง ทั้งด้านโน้ต
จังหวะ เทคนิคและการเคลื่อนไหวของร่างกาย หลังจากนั้นจึงซ้อมแบบซํ้าๆ หลายๆ ครั้งจนกระทั่งมัน
เกิดขึ้นเองจนเป็นธรรมชาติ โดยที่เราไม่ต้องบังคับมันอีกเลย จำไว้ว่า "ร่างกายของเราเปรียบได้กับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ถ้าเราใส่ข้อมูลผิดๆ เข้าไปครั้งแรก โอกาสที่คอมพิวเตอร์แสดงผลอย่างผิดๆ จะมีสูง และ
เราจะแก้ไขยาก"

4. Practice Fast as Well as Slowly
(ซ้อมเร็วเช่นเดียวกับซ้อมช้า)

การซ้อมช้าๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้หูและสมองได้ใส่ข้อมูลอย่างถูกต้องและสามารถควบคุมและ
สั่งสอนกล้าม เนื้อทุกส่วนสำหรับการเล่นได้ โดยปกติแล้วการซ้อมช้าๆ นั้น จะทำให้เพลงขาดจิตวิญาณ
ของเพลงนั้นๆ ไป เราอาจจะต้องลองเล่นเพลงนี้ด้วยความเร็วจริงก่อน (แม้กระทั่งเราไม่เคยเล่นเพลงนี้มา
ก่อนเลย) เพื่อให้เราทราบ idea และปัญหาที่เราจะพบในเพลงอย่างคราวๆ ก่อน หลังจากนั้น เราจึง
มาหา Fingering และเทคนิคต่างๆ ต่อไป
มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า เวลาเริ่มหัดเพลงใหม่ ให้ซ้อมช้า 4 ครั้ง แล้วจึงตามด้วยซ้อมเร็ว 1
ครั้งเสมอ และเมื่อเราคล่องแล้วให้ซ้อมเร็ว 4 ช้า 1 Metronome เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการซ้อม
เราต้องควบคุมความช้าเร็วให้ได้ดีตลอดเวลา Metronome สอนให้เราฟังและควบคุมได้ดีอีกด้วย มี
นักเรียนหลายคนสามารถเล่นเร็วได้ดี แต่พอให้เล่นช้าๆ ก็ไม่สามารถควบคุมเทคนิคต่างๆ ได้ นั่นแสดงว่า
การเล่นของเรายังไม่ปลอดภัย จำไว้ว่า "ถ้าเราเล่นช้าไม่ได้ดีแล้ว เราจะไม่สามารถเล่นเร็วได้อย่าง
ปลอดภัยไปทุกครั้ง"

5. Give Equal Attention to Both Arms
(ให้ความสำคัญเท่ากันทั้งมือซ้ายมือขวา)

เครื่องดนตรีหลายชนิดต้องใช้มือทั้งสองเล่น แต่มือใดมือหนึ่งมักจะมีแนวโน้มความสำคัญกว่าอีกมือเสมอ
นักเปียโนอาจให้ความสำคัญกับมือที่เล่นทำนองมากกว่ามือที่เล่นเสียงประสาน หรือผู้เล่นเครื่องเป่า อาจ
ให้ความสำคัญกับนิ้วกดมากกว่าเรื่องการใช้ลม สำหรับผู้เล่นเครื่องสายนั้น มักให้ความสำคัญแก่มือซ้าย
มากกว่ามือขวา เพราะมือซ้ายนั้นเราสามารถได้ยินความเพี้ยนหรือไม่อย่างชัดเจน แต่จริงๆ แล้ว แก่น
ของเสียง, Articulation, และ expressive อารมณ์ของเพลง ความดังเบา หัวใจของเพลง
อยู่ที่มือขวาทั้งสิ้น ผู้เล่นเครื่องสายควรให้ความสำคัญในการซ้อมของมือขวาด้วย ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่อง
ความเพี้ยนของมือซ้ายได้แล้ว เราควรจะหันมาสนใจเรื่องการใช้คันชัก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสังเกตข้อผิดพลาด
ได้ยากมาก

6. Separate the Problems and Solve Them One by One
(แบ่งแยกปัญหาให้ออกและแก้ไขทีละอย่าง)

แต่ละช่วงของเพลงมักจะเกิดปัญหาในการเล่นต่างกันและมากน้อยหลากหลายกันออกไป การที่จะพยายาม
แก้ไขทุกอย่างไปพร้อมๆ กันนั้นจะทำให้เราไม่สามารถแก้ไขปัญหา ได้เลยสักอย่างเดียว แถมว่าจะเข้ากฎ
ข้อ 3 ด้วย นั่นคือเราซ้อมยํ้าๆ แต่แบบที่ผิดๆ ....ใจเย็นๆ ครับ....... แบ่งปัญหาที่พบให้ออกว่าเป็น
ด้านอะไร rhythm? Intonation? Articulation? Basic ทั่วๆ ไป, เทคนิคเฉพาะของ
มือซ้ายหรือมือขวา? ปัญหาเรื่องการประสานงานกันระหว่างมือทั้งสอง? ความคล่องตัวของนิ้ว มือ
แขน? การใช้ลม? หรืออื่นๆ หรือทั้งหมด? จากนั้นค่อยๆ แก้ไขไปทีละอย่าง แตกมันออกมาอย่างๆ
ช้าๆ เพื่อสอนกล้ามเนื้อของเรา เทคนิคบางอย่างนั้น เราอาจต้องไปหา studies, etudes ต่างๆ
มาฝึกเพิ่มเติมเพื่อช่วยแก้ปัญหาในบทเพลงของเรา การแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต่างๆ ครูของท่านอาจให้
คำแนะนำได้

7. Practice Difficult Passages in Context
(นำช่วงที่ยากของเพลงออกมาซ้อมเฉพาะจุด)

นี่เป็นเรื่องต่อจากข้อที่แล้ว หลังจากแบ่งแยกปัญหาออกมาได้และแก้ปัญหาทีละอย่างได้หมดแล้ว เราก็
สามารถรวมการเล่นได้ออกมาเป็นแบบที่เพลงเขียนไว้ โดยซ้อมช้าๆ ก่อน ฟังว่าปัญหาต่างๆ ที่เราแก้ไป
ยังอยู่อีกหรือไม่ ถ้ายังพบอยู่ ให้กลับไปแก้เฉพาะจุดนั้น

8. Practice Performing: Don't Only Practice Practicing
(ให้ซ้อมการแสดงคล้ายการแสดงจริงด้วย)

การซ้อมในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ โดยมีเพียงแค่เราอยู่คนเดียวนั้น ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายของการเล่นดนตรี
แม้ว่าเราสามารถทำให้มันสนุกจนไม่อยากละมือออกจากการซ้อม ถ้าเราเรียน concerto, sonata
ได้เป็นสิบๆ บท มันก็ไม่มีประโยชน์และไม่ถือว่าได้เรียนอย่างสมบูรณ์ ถ้าเราไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะนำ
ออกแสดงได้
การแสดงต่อหน้าผู้ คนจำนวนมาก ทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักนั้น เป็นสิ่งที่ยากต่อความรู้สึกและไม่สามารถ
เกิดการควบคุมความรู้สึกนี้ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ต้องอาศัยการฝึกฝนและความเคยชิน สิ่งต่างๆ อาจมี
ผลกระทบต่อการเล่นของเราในการแสดง ความตื่นเต้น ตื่นเวที อุณหภูมิ สภาพอาการ สภาพร่างกาย
จิตใจ สภาพทางเสียง และตัวแปรอื่นๆ อาจทำให้เราตื่นเต้นมากจนเกินไป หลังจากการฝึกซ้อมจนถึง
ระดับหนึ่งแล้ว เราควรมีการฝึกซ้อมการแสดงด้วย เราอาจจินตนาการว่ามีผู้ฟังหรือถ้ามีโอกาส ให้ไปลอง
บรรเลงในสถานที่จริงที่เราต้องแสดง โดยห้ามหยุดบรรเลงตั้งแต่ต้นจนจบเพลง ดูว่า เรายังมีปัญหาการ
บรรเลงหลงเหลืออยู่หรือไม่ ถ้ามี นั่นคือโอกาสที่เราจะทราบและนำกลับไปแก้ไขให้ทันก่อนการแสดงจริง
หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น ให้ลองเชิญเพื่อนฝูง คนรู้จักมานั่งฟังการซ้อมการบรรเลงแบบไม่มีหยุดของเราด้วย
จะเป็นการดียิ่งขึ้น เราอาจจะถามความคิดเห็นของผู้ฟังด้วยก็เป็นได้
ชุดที่ใส่ในวันบรรเลงก็มีผลต่อการเล่นเช่นกัน ชุดสูทที่คับหรือหลวมเกินไป รองเท้าส้นสูง กระโปรงที่แคบ
หรือลากยาว เครื่องประดับหรือกระดุมที่สามารถเกะกะหรือกระแทกเครื่องดนตรีของเรา เหล่านี้ ควรจะมี
การจัดเตรียมและแก้ไขมาก่อนล่วงหน้า

วิชา Concert Practice ที่ผมเคยเรียนมานั้น มีประโยชน์มากในการฝึกตรงนี้ โดยที่เราเล่นให้
เพื่อนดูและเพื่อนก็เล่นให้เราดู โดยมีการเดินเข้าออก ทำการโค้งและปรบมือเช่นการแสดงจริงๆ หลังจาก
นั้นก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่เราควรมีการเริ่มในบ้านเรา
เรื่องความตื่นเต้นในการแสดงนั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องนี้ คงต้องกล่าวกัน
ยาวมาก ความตื่นเต้นเป็นเรื่องของจิตใจโดยแท้ และเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราไม่มีความตื่นเต้นบนเวทีเลยแม้แต่
น้อย นั่นแสดงว่าเรามีความผิดปกติหรือไม่ใส่ใจในการแสดงเท่าที่ควร ความตื่นเต้นจะเกิดขึ้นเมื่อเราอายุ
มากขึ้น รู้มากขึ้น มีสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น สนใจความรู้สึกของคนอื่น จนทำให้เราขาดสมาธิในการเล่น
สิ่งเหล่านี้ฝึกฝนกันได้ และต้องอาศัยความมีประสบการณ์เจนเวที

หัวใจที่เต้นถี่เร็วและแรง อาการเข้าห้องนํ้าเพื่อถ่ายเบาบ่อย เหงื่อออกที่มือ มือสั่นไม่มีแรง ปวดมวนท้อง
อาการต่างๆ เหล่านี้คืออาการตื่นเวทีที่พบได้ประจำในหลายๆ คน ถ้าท่านเป็นคนที่เอาจริงเอาจังกับการ
แสดงและต้องการให้การแสดงออกมาดี ไม่มีทางหรอกครับที่เราจะขจัดความตื่นเต้นในการแสดงออกได้
หมด ฉะนั้น จงเตรียมใจไว้ได้เลยว่า ไม่ว่าเราจะซ้อมมาดีเยี่ยมขนาดไหนก็ตาม ท่านจะตื่นเต้นในการ
แสดงอย่างแน่นอน แต่ท่านต้องรู้จักที่จะควบคุมมัน อยู่กับมัน เปลี่ยนมันให้เป็นพลังทางบวก เรื่องทั้งหมด
นี้อยู่ที่สมาธิและใจครับ

ครั้งแรกๆ ในการแสดงหรือการ audition ท่านอาจจะตื่นเต้นจนควบคุมไม่ได้ แต่อย่าเพิ่งท้อใจ นั่น
เป็นเพียงการเริ่มต้นพบปัญหา สิ่งที่ช่วยเราได้บนเวทีนั่นคือการมีสมาธิกับสิ่งที่ท่านทำอยู่และ Enjoy สิ่ง
ที่ท่านแสดง!

9. Practice Also Without Instrument
(ซ้อมโดยไม่ใช้เครื่องดนตรีด้วย)

เพียงแค่เราฝึกซ้อมทางด้านร่างกายกับเครื่องดนตรีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอแน่ๆ เราควรจะซ้อมด้านจิตใจ
ความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวกับบทเพลงที่เราจะแสดงด้วย จริงๆ แล้วสมองของเราเป็นตัวควบคุมจัดการกับ
กิริยาทุกอย่างในการเล่น เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่ดีได้ ต้องมีโปรแกรมที่ดี
ให้ลองมองดูโน้ตเพลงที่ท่านจะเล่น แล้วจินตนาการเสียงตาม บางครั้งเราอาจพบหนทางตีความบทเพลง
แบบใหม่ๆ ที่อาจดีกว่าแบบเก่าที่เราเคยชิน ก็เป็นได้ บางครั้งท่านอาจหลับตาแล้วจินตนาการว่าเรากำลัง
เล่นบทเพลงนั้นๆ จริงๆ การฝึกเช่นนี้ ไม่เพียงช่วยด้านเทคนิค แต่ช่วยเรื่องการจดจำบทเพลงได้ด้วย ถ้า
เราสามารถเล่นเพลงด้วยจินตนาการได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่อาศัยเครื่องดนตรีเลย โดยมี tempo ที่ดี
และไม่มีการหลงลืมหรือชะงัก (ตัดสินตัวเองอย่างเป็นธรรม อย่าเข้าข้างตัวเองด้วยนะครับ) เราอาจพูดได้
ว่าเราสามารถจำบทเพลงได้แล้ว แต่ถ้ายังหลงลืมบางจุด ให้เรากลับไปแก้ไขจุดนั้นโดยเร็ว
ช่วงฤดูหนาวในสมัยที่ผมเรียนดนตรีในอังกฤษนั้น เป็นช่วงที่ทรมานเรื่องความหนาวมาก เครื่องทำความ
ร้อนก็ไม่เพียงพอ ผมเคยซ้อมหน้าเครื่องทำความร้อนเป็นเวลานานจนเครื่องดนตรีที่เป็นไม้นั้นแตก เพราะ
อากาศแห้งมากๆ จากเครื่องทำความร้อน ผมต้องส่งเครื่องซ่อมและต้องใช้เวลาซ่อมหลายวัน ไม่
สามารถหาเครื่องใหม่ได้ทัน และหลังจากซ่อมเสร็จเพียงวันเดียว ผมก็ถึงเวลาเรียนกับครูอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ไม่มีทางที่จะได้ซ้อมกับเครื่องก่อนเข้าเรียนเลย ช่วงรอเครื่องซ่อมอยู่นั้น ผมจึงจำเป็นต้องนอนใต้ผ้าห่ม
หนาๆ ได้แต่นั่งมองโน้ตและซ้อมด้วยใจเพียงอย่างเดียวเป็นเวลาหลายวัน.....ได้ผล ครับ..... หลังจากได้
เครื่องกลับมา ผมไม่ต้องซ้อมกับมันมากเลย รู้ว่าควรจะเล่นอย่างไร.... นี่คงเป็นผลแห่งการซ้อมด้วยใจใน
เวลานั้น
การซ้อมด้วยใจนี้อาจทำได้เมื่อสภาพร่างกายของเราเหนื่อยหรือป่วย หรืออาจทำได้ในขณะที่เราต้อง
เดินทางหรือก่อนการแสดงคอนเสิร์ต ข้อสำคัญ เราต้องได้ยินในหัว (Inner hearing) กับสิ่งที่เรา
จะซ้อมด้วยใจ
มีเรื่องเล่ากันอยู่ว่า Enesco อาจารย์ Violin ของ Menuhin ขณะเดินทางไปแสดงนั้น
Enesco หยิบดินสอออกมาแล้วขยับนิ้วคล้ายเล่นไวโอลินไปกับดินสอ ซักพักหนึ่ง เขาหยุด แล้วหันมา
พูดว่า "อุ๊ป!….โน้ตตัวนั้นเพี้ยน!"

10. Do Not Neglect the Easy Sections: They Tend to Take Revenge
on You!
(อย่าละเลยช่วงที่ง่ายๆ มันอาจกลับมาก่อความยุ่งยากให้เราได้)


เพลงที่เราจะเล่นนั้น อาจมีหลายช่วงที่มีความง่าย ไม่มีปัญหาแม้กระทั่งลองเล่นในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว
คนบางคนก็ชอบเล่นแต่ช่วงง่ายๆ นี้บ่อยๆ โดยไม่ค่อยอยากไปเล่นในช่วงยากๆ เพราะเสียงดีสู้ช่วงง่ายๆ
นี้ไม่ได้ แต่อีกพวกหนึ่ง ซ้อมแต่ช่วงยากๆ จนแทบไม่สนใจช่วงง่ายอีกเลย
จริงๆ แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลากับช่วงง่ายๆ เหล่านี้มากนัก แต่อย่างน้อยก็ให้ผ่านตาไว้บ้าง
อย่าให้เมื่อถึงเวลานำออกแสดงแล้วช่วงง่ายๆ เหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยเหมือนเพิ่งเคยเห็น การ
ไม่คุ้นเคยนี้จะทำให้เราลังเลว่า "เล่นถูกหรือเปล่า" "ใช้นิ้วอะไรดี ตรงนี้" อย่าให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นนะ
ครับ มันจะทำลายสมาธิเรา
นั่นคือ 10 หัวข้อหลักๆ ในการทำการซ้อมให้ได้ผลและเป็นศิลปะที่นักดนตรีทุกคนควรยึดไว้ในใจเสมอ


การวัดในความก้าวหน้าในการซ้อมของเราอย่างง่ายๆ ไว้ดังนี้
1. Building up time เป็นช่วงแรกที่เราเริ่มเรียนเพลงโดยเฉพาะเพลงใหม่ที่เราไม่รู้จักโน้ตเลย
Building ในที่นี้ หมายถึง การหัดโน้ต จังหวะ แก้ไขปัญหาเรื่องเทคนิค หาเทคนิคมาเสริมในเพลง
นั้น ตรวจสอบ intonation ต่างๆ ฯลฯ อันเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไปของดนตรี ทั้งเรื่องเสียง จังหวะ
เราต้องหัดช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มเร็วขึ้น สลับกันไป โดยใช้กฎข้อ 1 ถึง 7
2. Interpretation Time เป็นช่วงตีความบทเพลง หลังจากผ่าน Building Up time
จนเราสามารถเล่นโน้ตได้อย่างคล่องแคล่ว โดยไม่มีปัญหาทางเทคนิคแล้ว ให้เราคิดถึงเรื่อง Dynamic
ความดังเบา vibrato, articulation ความสั้นยาวของโน้ตต่างๆ เพื่อเพิ่มสีสันให้กับบทเพลง
สิ่งนี้จะสร้างให้เพลงของเรามี Musical มากขึ้น ข้อนี้ทำได้โดยใช้หลักข้อ 9 ครับ
3. Performance Time หลังจากทุกอย่างเริ่มลงตัวแล้ว ควรจะลองนำออกแสดงดูว่า ยังมีปัญหา
อะไรหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่จำเป็นว่าจะต้องนำออกแสดงที่โรงคอนเสิร์ตที่มีผู้ชมจำนวนมาก บางทีท่านอาจ
ขอร้องให้เพื่อนซักคนสองคนนั่งดูการแสดงของท่าน โดยท่านต้องทำทุกอย่างเหมือนการแสดงจริง เรื่องนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับใจแล้วครับ กลับไปอ่านกฏข้อ 8 ได้
นั่นเป็นการวัดความก้าวหน้าอย่างคร่าวๆ นะครับ ซึ่งบางทีท่านอาจต้องย้อนขั้นตอนกลับไปกลับมาและ
ห้ามละทิ้งขั้นตอนที่ 1 เป็นอันขาด แม้ว่าท่านอาจอยู่ในขั้นตอนที่สามารถนำเพลงออกแสดงได้แล้ว แต่
ท่านยังต้องซ้อมแบบ Building Up อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการควบคุมทางเทคนิคที่มีความยาก
นั้น มีความแม่นยำและสมํ่าเสมอ