ข่าวสารบัีนเทิง

การฟังเพลง

(การฟังเพลง )
จุดประสงค์ ในหลัก การในการฟังเพลง มีดังนี้
1.ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน โดยมีจุดหมายเพื่อผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์
2.ฟังเพื่อหาความหมาย มี 2 ประเด็นคือ
2.1 เพลงมีความหมายในตัวเอง คือ ผู้ประพันธ์เพลงได้สอดใส่อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ลงไปในบทเพลง
2.2 ผู้ฟังเพลงค้นหาความหมายของบทเพลงจากประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิด
ของตนเอง ผู้ฟังจะมีอารมณ์ร่วมรับรู้ไปกับบทเพลงนั้น ๆ
3.ฟังเพลงเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับบทเพลงนั้น ๆ เป็นการฟังเพลงที่ลึกซึ้งผู้ฟังจะต้อง
ฝึกหัดฟังมาก่อน การฟังในระดับนี้เป็นการฟังในระดับสูงสุด จะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่
3.1มีความตั้งใจเป็นพื้นฐานและอย่างสม่ำเสมอ
3.2มีโอกาสได้ฟังซ้ำบ่อยๆ
3.3มีความคุ้นเคยกับเพลงนั้นๆ
3.4มีความรู้เบื้องหลังเกี่ยวกับเพลงนั้นๆ
3.5มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมต่อเนื่องกับเพลงนั้นๆ
3.6มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียดของเพลงนั้นๆ พร้อมๆกันเช่น ตาได้ดู หูได้ยิน

ระดับต่างๆ ของการฟังเพลง
ระดับที่ 1. ฟังในระดับผ่าน (passive Listening) เป็นการฟังที่โสตประสาทรับรู้ว่า บัดนี้มีเพลงผ่านเข้ามา แต่ไม่รู้ว่าเพลงอะไร
ระดับที่2. ฟังในระดับที่สามารถคาดคะเนและสื่อสารได้(scnsuous Listening )
คือเมื่อฟังเพลงแล้วสามารถที่จะคะเนและบอกความหมายของเพลงได้
ระดับที่3. ฟังด้วยใจสัมผัสและจำ ( Emotional Listiening ) การฟังในระดับนี้ถึงขั้นรู้ความหมายทั้งในเนื้อร้องและทำนองเพลง
ระดับที่4. ฟังในระดับลึกซึ้งสามารถวิจารณ์ได้ ( Perceptive Listening) การฟังในระดับนี้ เป็นการฟังที่
ผู้ฟังสามารถวิจารณ์เปรียบเทียบได้ว่า เพลงนี้มีอะไรดีการปฏิบัติตนเมื่อได้ฟังเพลงในพิธี

การฟังเพลงในพิธีนี้ ผู้ฟังจะต้องสำรวมกริยาให้สงบเรียบร้อย นิยมยืนตรงอยู่กับที่
1. เพลงชาติ ใช้บรรเลงในเวลาเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา และลงจากยอดเสา
2. เพลงสรรเสริญพระบารมี ใช้บรรเลงรับส่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ หรือผู้แทนพระองค์
3. เพลงมหาชัย ใช้บรรเลงต้อนรับประธานในพิธีต่างๆ ที่สูงศักดิ์ คือ พระบรมวงศ์เธอ( พระญาติผู้ใหญ่พระเจ้าอยู่หัว)
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรี นายทหารยศจอมพล
4. เพลงมหาฤกษ์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงเป็นเกียรติในงานพิธีต่างๆ ทั่วไป

มารยาทในการฟังเพลง
1. ไปถึงที่จัดการแสดงก่อนเริมแสดง ประมาณ 10-20นาที
2. ไม่นำอาหารขบเคี้ยวที่มีเสียงดัง และกลิ่นรุนแรงเข้าไปรับประทาน
3. ไม่พูดคุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์
4. ไม่แสดงกริยาอากรที่ไม่เหมาะสม เช่น โห่ หรือปาสิ่งของ
5. แต่งกายสุภาพเรียบร้อยให้เหมาะกับเพลงแต่ละประเภท

คุณประโยชน์ของการฟังเพลง
1.ได้รับความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียด
2.ทำให้มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส สุขภาพจิตดี
3.เป็นเพื่อนแก้เหงายามว่างหรืออยู่คนเดียว
4.ในกรณีฟังเพลงไทย เป็นการช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยมิให้สูญหายไปด้วย