ข่าวสารบัีนเทิง

คอร์ด Chord

คอร์ด Chord

บางครั้งเราก็อยากเล่น เพลงในแนวทางที่แปลกๆบ้างแต่บางครั้งก็ทำไม่ได้
เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไรกับเพลงนั้นการที่เราจะเรียบเรียงเพลงในรูปแบบของเรา
เองนั้นเราต้องเข้าใจก่อนว่าเพลง 1 เพลงประกอบด้วยอะไรบ้างเพลงจะประกอบ
ด้วย 4 องค์ประกอบดังต่อไปนี้
1 เมโลดี้
2 ฮาร์โมนี่
3 ริทึ่ม
4 โทนคัลเลอร์

เรื่อง การใช้คอร์ด(เบื้องต้น) ซึ่งจะอยู่ในพาร์ท ของ ฮาร์โมนี่
ถ้าเราลองเอาโน๊ต 4 ตัว ในเมเจอร์สเกลมาเรียงต่อกันในบรรทัด 5 เส้น
ผลที่ได้ตามมาจะเป็นดังนี้
(ขอยกตัวอย่างจาก C นะครับ )
คอร์ด 1 = Cmaj7 คอร์ด 2 = Dm7 คอร์ด 3 =Em7 คอร์ด 4 =Fmaj7 คอร์ด 5 = G7
(แนะนำให้อ่านว่า G ดอมมิแนนท์เซเว่นนะครับ จีเซเว่นอย่างเดียวเดี๋ยวจะงง เพราะมันมี
สองแบบ) คอร์ด 6 =Am7
คอร์ด 7=Bm7b5 (อยากพิมพ์เป็นตัวโรมันมากๆแต่ไม่มีครับเครื่องนี้)
ซึ่งเราสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดดังนี้

1.Tonic (T) ประกอบด้วย คอร์ดที่ 1 3และ6
หรือ Cmaj7 Em7 Am7 ทังสามคอร์ดนี้ คุณสามารถใช้แทนกันได้(ถ้าเมโลดี้เหมาะสม)
สาเหตุที่เเทนกันได้เพราะมันมีโน๊ตในคอร์ดซ้ำกันอยู่ เดี๋ยวผมจะกระจายคอร์ดให้ดู
Cmaj7 ประกอบด้วยโน๊ต C E G B
Em7 ประกอบด้วยโน๊ต E G B D
Am7 ประกอบด้วยโน๊ต A C E G
จะเห็นได้ว่าโน๊ตมันซ้ำกันเยอะมาก

2.Subdominan (SD) ประกอบด้วย คอร์ดที่ 2 และ 4
คือ Dm7 และ Fmaj7 สังเกตุง่ายๆตอนที่เราเริ่มแกะเพลงใหม่ 2 คอร์ดนี้คนใช้สับกันเสมอ
แต่สังเกตุใหมครับถึงเราใช้สับกันอย่างไกเสียงก็แทนกันได้อยู่ดี ที่แทนได้เพราะว่าโน๊ตซ้ำกัน
ตั้ง 3ตัว ลองกระจายคอร์ดดูซิครับ

3.Dominan(D) ประกอบด้วย คอร์ดที่ 5 และ 7
คือ คอร์ด G7 และ Bm7b5 คอร์ด G7 ผมว่าทุกคนที่เล่นกีตาร์มาต้องเคยเล่นแน่ๆ
แต่ Bm7b5 ผมว่าน้อยคนจะนึกถึงมันเวลาเล่น ลองเอา คอร์ด 7 แทนคอร์ด 5 ดูซิครับ
จะได้ซาวด์ออกมาทางแจ๊สอีกเพียบเลย แต่อย่าเอาคอร์ด 7 วางไว้เฉยๆนะครับ เพราะคอร์ด 7
เสียงมันอ่อนมากต้องวิ่งหลักเสมอ

และสำหรับคนที่อยากลองเขียนเพลงแล้วไม่รู้จะวางโครงของคอร์ดอย่างไร
ลองเอาหลักการเบื้องต้นอันนี้ไปใช้ดูนะครับ
คือ โทนิค จะวิ่งไปหาอะไรก็ได้
เช่น C Am C-Dm หรือ C G7
ดอมมินันท์ วิ่งไปหาตัวเองได้และวิ่งไปหา โทนิคได้
เช่น Bm7b5 C หรือ G7 C
ซับดอมมินันท์วิ่งไปหาตัวเอง หรือ ซับดอมมินันท์วิ่งไปหาโทนิค
และสุดท้าย ซับดอมมินันท์วิ่งไปหาดอมมินันท์แล้ววิ่งกลับไปหาโทนิค
เช่น Dm C Dm Bm7b5 C

สรุปคือก็คือถ้าโน๊ตอยู่ในหมวดเดียวกันโดยมากจะแทนกันได้ (ถ้าเมโลดี้เป็นเทนชั่นก็ฟังยากหน่อย)
พี่ ผมแนะนำนี้เป็นแค่เบื้องต้น ที่จริงคอร์ดจะเป็นอะไรก็ได้ ถ้าเราใช้มันเป็น
ก็เหมือนหนังจีนอ่ะครับ ที่บอกว่าเรามาเรียนรู้รูปแบบเพื่อจะไร้รูปแบบ ถ้าสนใจเรื่องนี้โพสเข้ามานะครับ
ยินดีตอบครับบางท่านอาจจะสงสัย เพราะดูคล้ายๆ กัน
คำว่า Tonic คือคอร์ด 1,3,6 เรียกว่าเต็มๆ Tonic Function ครับ
ส่วน 2,4 เรียกว่า Subdominant Function
และ 5 กับ 7 เรียกว่า Dominant Function ครับ
ซึ่งมันอาจดูคล้ายๆ กับในทาง Western Music ที่มีชื่อเรียก
Tonic Chord ว่าเป็นคอร์ด 1 เท่านั้น
Subdominant Chord เป็นคอร์ด 4
และ Dominant Chord เป็นคอร์ด 5 เท่านั้น

1 เมโลดี้ คือ ทำนองเพลงนั่นแหละครับถ้าจะพูดกันง่ายๆ เพลงทั่วไปจะมีแค่
ทำนองหลักแต่อยากให้ลองฟังคลาสสิคดู มันจะมีเมโลดี้แบ็คกราวด้วย หรือจะเรียก
ง่ายๆว่าเมโลดี้ซ้อนเมโลดี้ก็ไม่ว่ากัน
2 ฮาร์โมนี่ คือลายประสาน หรือว่าคอร์ดนั่นเอง จะเอาวิจิตรพิศดานแค่ใหนแล้วแต่เราเลยครับ
3 ริทึ่ม คือ จังหวะครับ เช่น สวิง บีบ็อบ ร็อค R&B เยอะมากๆครับ ตรงนี้มันเหมือนกับ
ทิศทางของเพลงเลยจะเห็นว่าเพลงเดี๋ยวนี้ริทึ่มที่เป็นร็อค จะแทรกแซงทุกแนงเพลง
แต่ ริทึ่มแบบแจ๊สก็มาแรงนะครับ แม้ลูกทุ่งยังเป็นแจ๊สเลย (พุ่มพวง อ่ะครับ พี่เล็ก ทีโบนตีไว้เยอะมากๆ)
4 โทนคัลเลอร์ ก็คือสีสันของเสียงครับ เช่นใน เมโลดี้ หรือ ฮาโมนี่ เดียวกัน แต่ใช้เครื่องดนตรีคนละชนิด
อารมณ์ของเพลงจะเปลี่ยนไปเลยครับ ง่ายๆ เช่นเราโซโล่ เพลงหนึ่ง เราใช้ กีตาร์ไฟฟ้า ก็ได้ซาวด์หนึ่ง
กีตาร์โฟร์ค ก็ได้อีกอารมณ์หนึ่ง ใช้สายเอ็นก็จะได้อีกอารมณ์หนึ่ง เรื่องราวพวกนี้พวกเขียนเพลงหนังจะให้
ความสำคัญมาก ยิ่งตอนผมเรียน ออเครสเตชั่นเนี่ย แทบอวกออกมาเป็นชื่อเครื่องดนตรีเลย สนใจเรื่องนี้ แอ็ด
มาคุยกับผใด้ครับ

มาไขความลับของ Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) กันดีกว่าครับ

สวัสดี ครับวันนี้ผมจะมาแนะนำเรื่อง Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) ก่อนอื่นผมต้องขอบอกนะครับ
ว่าโดยส่วนตัวแล้วผมเล่นไม่ค่อยเก่ง ไม่ค่อยได้ฝึกภาคปฏิบัติซักเท่าไหร่ แต่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี
ดนตรี อยู่บ้างเล็กน้อย ก็เลยอยากจะมาบอกต่อกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ป้าๆ น้าๆ อาๆ บางท่านที่ยังไม่รู้
คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

Chord (คอร์ด) คือ เสียงของโน้ต ที่รวมตัวกันตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป มีทั้งคอร์ด 3 เสียง / 4เสียง
/ 5เสียง และ อื่นๆ อีกมากมาย
Tension (เท็นชั่น) แปลว่า ความตึงเครียด
Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) แปลว่าคอร์ดที่มีความตึงเครียด
Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) มีอยู่ในดนตรีทุกประเภท แต่ที่ใช้กันแบบไม่ประหยัดเลย
ก็ในดนตรี Jazz นี่ใช้เยอะมาก มีทั้งโน๊ตเท็นชั่น ที่อยู่ในคีย์ และเท็นชั่นที่อยู่นอกคีย์ วันนี้ผมจะพูดถึง
โน๊ตเท็นชั่นในคีย์อย่างเดียวก่อนนะครับก่อนจะไปเรื่อง Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด)
ผมจะพูดถึงที่มาที่ไปของคอร์ดก่อนละกันครับจะได้ไม่งง!!!!

ขอยกตัวอย่างจาก Scale Cmajor มันจะเข้าใจง่ายที่สุดแล้ว (เราควรจะรู้โน้ตบนคอกีตาร์
ให้หมดก่อน หาได้จากกูเกิ้ลครับมีเยอะแยะมากมาย)
Scale Cmajor ประกอบไปด้วยโน้ต C D EF G A BC
C กับ D ห่างกัน 1ช่องบนคอกีตาร์ /D กับ E ห่างกัน 1ช่องบนคอกีตาร์
E กับ F ช่องจะติดกัน บนคอกีตาร์ /F กับ G ห่างกัน 1 ช่องบนคอกีตาร์
G กับ A ห่างกัน 1 ช่อง บนคอกีตาร์ /A กับ B ห่างกัน 1 ช่องบนคอกีตาร์
B กับ C ช่องจะติดกันบนคอกีตาร์ พอจะเข้าใจไหมครับ ลองค่อยทำความเข้าใจไปทีละ
ขั้นตอนนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหนอ่านตรงนั้นให้เข้าใจก่อน ถ้าอ่านทีเดียวหมดมันจะเข้าใจยากครับ
ค่อยทำความเข้าใจไปทีละขั้นนะครับ
****อัน นี้สำคัญมาก ว่าโน้ตตัวไหน เป็นลำดับที่เท่าไหร่ ของสเกลไหน มันจะส่งผลกับหลายๆอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตเท็นชั่นที่ผมกำลังจะกล่าวถึง หรือเรื่องของโมด เรื่องอาร์เพ็กจิโอ้ และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย
มันจะอ้างอิงมาที่ตรงนี้หมดละครับ ตอนนี้ขอแค่ให้จำตรงนี้ให้ขึ้นใจก่อน เอาแค่ว่าโน้ตตัวไหน
เป็นลำดับที่เท่าไหร่ ของสเกล C
C เป็นโน้ตตัวที่ 1 ของ Cmajor Scale
D เป็นโน้ตตัวที่ 2 ของ Cmajor Scale
E เป็นโน้ตตัวที่ 3 ของ Cmajor Scale
F เป็นโน้ตตัวที่ 4 ของ Cmajor Scale
G เป็นโน้ตตัวที่ 5 ของ Cmajor Scale
A เป็นโน้ตตัวที่ 6 ของ Cmajor Scale
B เป็นโน้ตตัวที่ 7 ของ Cmajor Scale
C เป็นโน้ตตัวที่ 8 หรือตัวที่1 นั่นเองของ Cmajor Scale (วนกลับมาเป็น Octave (อ็อคเท็ฟ) ต่อไป)
*****ข้อสังเกตุ BC ติดกัน / EF ก็ติดกัน ******
Octave (อ็อคเท็ฟ) คือ โน้ตเดียวกัน แต่เสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย6 ช่อง12 นี่คือ 1 Octave
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย2 ช่อง5 นี่คือ 2 Octave
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย1 ช่อง12 นี่คือ 3 Octave

คอร์ด 3 เสียง (Triad Chord) คือนำโน้ตในสเกล ตัว เว้น ตัว ก็จะได้ดังนี้
คอร์ด 3 เสียงทั้งหมดใน สเกล C Major จะได้ดังนี้
เริ่มจาก C เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ C-E-G คือ คอร์ด C
นับ D เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ D-F-A คือ คอร์ด Dm
นับ E เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ E-G-B คือ คอร์ด Em
นับ F เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ F-A-C คือ คอร์ด F
นับ G เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ G-B-D คือ คอร์ด G
นับ A เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ A-C-E คือ คอร์ด Am
นับ B เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ B-D-F คือ คอร์ด Bdim
ก็เป็นอันว่าครบทั้ง 7 คอร์ดของคอร์ 3 เสียงแล้ว (สเกลมี 7 โน้ต ฉันใดฉันนั้น จึงมีคอร์ดแค่ 7 คอร์ด นะโยม)

ต่อไปเรามาดูคอร์ด 4 เสียงกันบ้าง ก็ใช้ตัวเว้นตัวเหมือนกัน
เริ่มจาก C เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ C-E-G-B คือ คอร์ด Cmjor7
นับ D เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ D-F-A-C คือ คอร์ด Dm7
นับ E เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ E-G-B-D คือ คอร์ด Em7
นับ F เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ F-A-C-E คือ คอร์ด Fmajor7
นับ G เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ G-B-D-F คือ คอร์ด G7 (G dominat7)
นับ A เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ A-C-E-G คือ คอร์ด Am7
นับ B เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ B-D-F-A คือ คอร์ด Bm7b5 (บีไมเนอร์เซเว่นแฟลตไฟว์)
ก็เป็นอันว่าครบทั้ง 7 คอร์ดของคอร์ด 4 เสียงแล้ว (สเกลมี 7 โน้ต ฉันใดฉันนั้น จึงมีคอร์ดแค่ 7 คอร์ด นะโยม)
***จำให้ได้นะครับว่า คีย์ซี มีแค่ 7 คอร์ด นี้เท่านั้น ถ้ามีคอร์ดอื่นถือว่าเป็นคอร์ดที่นอกคีย์ครับ เช่นเราเล่น C/Am/Dm/G7
/C/Am/F/Fm/C อย่างนี้ Fm เป็นคอร์ดนอกคีย์ เพราะFm จริงๆแล้วเป็นคอร์ดที่2 Eb Major Scale
ลองเปลี่ยนหลายคีย์นะครับเราจะได้รู้ว่าคีย์ไหนมันมีคอร์ดอะไรบ้าง เราจะได้วิเคราะห์ เพลงได้
ว่าช่องนี้มันใช้คีย์อะไร ใช้สเกลอะไรโซโล่

ต่อไปก็มาถึงพระเอกของเราซะที Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด)
หลักการเติมโน๊ตเท็นชั่น ให้คอร์ดมีดังนี้
คอร์ด Add (แอ๊ด) (ไม่ใช่แอ๊ดคาราบาวนะครับ) ใช้คอร์ด 3 เสียง แล้วเพิ่มโน้ตที่เราต้องการเข้าไปเลย
แต่ต้องเป็นโน้ตในสเกลนะครับ
ตัวอย่างเช่น Cadd9 (ซีแอดนาย) คอร์ดซี 1-3-5 C-E-G เพิ่มตัวที่9 เข้าไปเป็น 1-3-5-9 C-E-G-D
Dm add9 (ดีไมเนอร์แอ๊ดนาย) คอร์ด Dm 1-3-5 D-F-A เพิ่มตัวที่9 เข้าไปเป็น 1-3-5-9 D-F-A-E

คอร์ด Sus (ซัส) ใช้คอร์ด 3 เสียง แล้วตัดตัวที่ 3 ออก แล้วใส่โน๊ตเท็นชั่นที่เราต้องการเพิ่มเข้าไปแทน
โน๊ตที่เราตัดออกได้เลย คอร์ดลักษณะนี้จะไม่บ่งบอกความเป็น ไมเนอร์ หรือเมเจอร์ (ผมเรียกคอร์ดนี้ว่า
คอร์ดไม่ระบุสัญชาติ อิอิ..) โน้ตตัว 3 นั้นเป็นตัวบ่งบอก ความเป็น ไมเนอร์ หรือเมเจอร์ ลองดู คอร์ด Am 1-3-5
คือ A-C-E คอร์ด Amjor 1-3-5 คือ A-C#-E เห็นมั๊ยครับ ตัวที่3 ต่างกันแค่ครึ่งเสียง แต่อารมณ์ของคอร์ด
ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง มาเข้าเรื่องคอร์ด Sus กันต่อ
ตัวอย่างเช่น Csus9 (ซีซัส นาย – ดีนะซัสนายไม่ได้ซัซเรา อิอิ...) คอร์ดซี 1-3-5 C-E-G ตัดตัวที่3 ออก
แล้วใส่ตัวที่9 เข้าไปแทนเป็น 1-9-5 C-D-E

การทำคอร์ด 5 เสียงนั้น เป็นไปได้ยากบนกีตาร์ แต่สำหรับเปียนโนแล้วสบายมาก ดังนั้นการจะทำคอร์ด 5 เสียง
บนกีตาร์นั้นเราจำเป็นต้องตัดโน้ตบางตัวออก โดยใช้กลักการดังนี้

1.เล่นคนเดียว ให้ตัดเอาตัว ที่ 5 ออก ได้เลย เพราะตัวที่ 5 มีความสำคัญน้อยที่สุด
ตัวอย่าง Cmajor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 1 คือรูท หรือโน้ตตัวแรกของสเกลนั้น 3 คือ ตัวบ่งบอกความเป็นเมเจอร์ หรือ
ไมเนอร์ 5 คือตัวที่ทำให้คอร์ดฟังดูหนักแน่นขึ้น 7 เป็นตัวบ่งบอกความเป็นเมเจอร์ เซเว่น หรือ ดอมิแนนท์เซเว่น
จาก Cmjor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 คือ C-E-G-B ผมจะเติมตัวที่ 4 (หรือ 11 มันคือโน้ตเดียวกัน) เข้าไป ผมก็ตัดตัวที่5 ทิ้ง
แล้ว ใส่ ตัว 11 เข้าไปจะได้ดังนี้ 1-3-11-7 C-E- F-B ก็จะได้คอร์ด Cmajor7 /11 (คอร์ดซีเมเจอร์เซเว่นอิเลฟเวน)
ชื่อเหมือนร้านสะดวกซื้อใช้ไหมครับ

2. เล่นกับวง ใช้หลักการ 11 แทน 1ได้เลย หมายถึง เราจะเอาตัวไหนมาเติม ก็ ตัดตัวที่ 1 ทิ้งไปเลย แล้วเอา
ตัวที่เราต้องการ ใส่แทนเข้าไปเลย ที่ทำได้อย่างนี้ก็เพราะ ว่า โน้ตตัวแรก มือเบส ยังงัยก็ต้องเล่นอยู่แล้วครับ
ตัวอย่าง Cmjor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 คือ C-E-G-B ผมจะเติมตัวที่ 4 (หรือ 11 มันคือโน้ตเดียวกัน) เข้าไป
ผมก็ตัดตัวที่1 ทิ้ง ไปเลย แล้วเติมตัว 11 เข้าไป จะได้ 11-3-5-7 คือ F-E-G-B ลองสังเกตดูดีๆ มันจะกลาย
เป็นคอร์ดใหม่แล้วใช้มั๊ยครับ อันนี้จะถือว่าเป็นหลักการแทนคอร์ด ในดนตรี Jazz อีกแบบนึงครับ จริงๆ
แล้วมันคือคอร์ด Fsus2 7b5 (เอฟซัสทูเซเว่นแฟลตไฟว์)

เอาเป็นตอนนี้อย่าเพิ่งไปสนใจกับชื่อของคอร์ดเลยละกัน ขอให้เข้าใจและนำไปใช้ได้จริงแค่นี้ก็พอแล้ว ครับ
พิมพ์ มาเยอะแล้วเริ่มมึนเหมือนกัน ผมเองก็ต้องมานั่งปัดฝุ่นใหม่ ลื้อฝื้นวิชามารของผมเหมือนกันครับ
ไม่ได้ใช้นานๆ มันไม่ลืมนะ แต่เกือบลืม แล้วคราวหน้าผมมีวิธีการเล่นกีตาร์สองคนแบบไม่เคยมีใครทำมาก่อน
หรือมีก็น้อยมาก เพราะว่ามันค่อนข้างวุ่นวายพอสมควร แต่รับรองว่า Sound Good สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ
ขอให้สนุกกับการศึกษาดนตรีนะครับ ค่อยเป็นค่อยไปครับ ดนตรีไม่มีเรียนลัด ต้องก้าวขึ้นบันไดทีละขั้นอย่างมั่นใจครับ โชคดี.....

บางท่านบอกว่า นับแค่ 1 3 5 โน๊ตที่เหลือถ้าเอามาประกอบคอร์ดจะถือเป็น tension ทั้งหมด
แต่พี่หนึ่งบอกว่า ให้นับ 1 3 5 7 ส่วนโน๊ต อีก3 ตัว คือลำดับที่ 2 4 6 ถ้านำมาประกอบ จะถือเป็น tension

มันต่างกันตรงโน๊ตตัวที่ 7 น่ะครับ ว่าพวกคอร์ด 7 มันถือเป็น tension หรือไม่